วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โค้ก : กลยุทธ์ทางการตลาด

วิวัฒนาการของโค้ก

น้ำอัดลมประเภท Cola ได้ถูกคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกขึ้นในปี 1886 เริ่มโดยนักเภสัชศาสตร์ได้ทำการขายเครื่องดื่มโซดาแบบแก้วในร้านขายยา และสูตรเครื่องดื่มนี้ได้เป็นที่นิยม และเติบโตอย่างรวดเร็วภายใต้ชื่อ Coke จนกระทั่ง Coke ได้มีการขายแฟรนไชส์ โดยที่ Coke นั้นได้พยายามที่จะทำให้สินค้ามีอยู่ในทุกที่ ลูกค้าสามารถหาซื้อได้ตามสะดวก รวมทั้ง Coke ก็ได้มีการปรับตัวไปตามสถานการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย
ในตลาดเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในสหรัฐอเมริกา ช่วงทศวรรษที่ 1990 ตลาด Cola ยังครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่ 1 คือ 60% - 70% นอกเหนือจาก น้ำมะนาว รูทเบียร์ น้ำส้ม และอื่น ๆ ส่วนประกอบของผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม จะประกอบด้วย 4 ส่วนหลักได้แก่



1. ผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำหวาน เป็นผู้ทำหน้าที่นำวัตถุดิบมาผสมกัน (ยกเว้นสารให้ความหวาน) และส่งไปยังผู้บรรจุขวด การลงทุนในสินทรัพย์ของผู้ผลิตไม่มากนัก แต่จะต้องลงทุนสูงในเรื่องของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การวางแผนการผลิต การทำวิจัยทางการตลาด กิจกรรมทางการตลาดกับผู้บริโภค การทำเครื่องหมายการค้า รวมถึงการพัฒนาความสามารถของผู้บรรจุขวด

2. ผู้บรรจุขวด จะมีสัญญากับทางผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำหวานในการทำการเติมสารให้ความหวานและบรรจุขวด พร้อมทั้งส่งไปยังร้านจำหน่าย เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงดูแลการจัดวางสินค้า การโฆษณา ณ จุดขาย การจัด Layout ในการลงทุนของผู้บรรจุขวด ส่วนใหญ่ต้องลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเครื่องจักรมากที่สุด ในเริ่มแรกการทำสัญญากันระหว่างผู้ปลิตหัวเชื้อน้ำหวานและผู้บรรจุขวดจะทำในลักษณะแฟรนไชน์

3. ร้านค้า ในปี 2000 ช่องทางการจัดจำหน่ายของน้ำอัดลมในสหรัฐอเมริกาจะผ่านทางร้านอาหาร 35% ผ่านทางที่จำหน่ายน้ำอัดลมแบบกด (Fountain Outlet) 23% ตู้จำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติ 14% ร้านสะดวกซื้อ 9% และอื่นๆ อีก 20% ได้แก่ ร้านที่เป็นแบบคลังสินค้าแบบสมาชิกร้านขายยา ต้นทุนมีผลมากจากวิธีการและความถี่ในการส่ง

4. ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบให้กับหัวเชื้อน้ำหวานและผู้บรรจุขวด วัตถุดิบที่จำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำหวาน ได้แก่ สีคาราเมล กรดฟอสฟอริก กรดผลไม้ สารปรุงรสจากธรรมชาติ และคาเฟอีน ส่วนวัตถุดิบที่จำหน่ายให้แก่ผู้บรรจุขวด ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ ประเภท กระป๋อง ขวดพลาสติก ขวดแก้ว และสารให้ความหวาน ประเภทน้ำตาล และฟรุคโตส

Cola Wars Heat Up

ในปี 1980 โค้กได้เปลี่ยนจากการใช้น้ำตาลอ้อยมาเป็นน้ำตาลฟรุคโตส ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลในราคาที่ต่ำ โค้กได้มีความพยายามทำการตลาดให้รุนแรงมากยิ่งขึ้นโดยการทุ่มเงินลงทุนในโฆษณาจำนวนสูง และโค้กก็ได้พยายามขยายกิจการไปยังตลาดเครื่องดื่ม non - CSD และต่อมา โค้กก็ได้ขยายแบรนด์ด้วยการออก "Coke Diet" ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสูตรของโค้กกลับไม่ได้รับผลตอบรับที่ดีจากตลาด ทำให้โค้กต้องกลับมาใช้สูตรเครื่องดื่มเดิมเป็นผลิตภัณฑ์หลัก



Bottler consolidation and spin-off

โค้กเริ่มซื้อกิจการ Bottler มาเป็นของตนเอง และได้ก่อตั้ง Coca Cola Enterprises (CCE) ซึ่งเป็นบริษัท Bottler ที่อยู่ในเครือของ โค้ก เอง ซึ่งการทำแบบนี้เป็นผลดีเพราะสามารถบริการจัดการด้าน Bottler และผลิตสินค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เมื่อมาถึงช่วงปี 2000 นั้น ยอดขายได้ลดลง นั่นทำให้การลงทุนใน Bottler กลายเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า เพราะลงทุนสูง แต่กำไรน้อยลง

Internationalizing the cola war

Coke มองตลาดต่างประเทศมากขึ้นเพื่อการเติบโต ปี1991-2000 ได้บุกตลาด จีน อินเดียยุโรปตะวันตกแต่ตลาดต่างประเทศเหล่านี้ก็ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐ ซึ่ง coke มีสัดส่วนทางยุโรปตะวันตก ละตินอเมริกา และ โค้กยังได้ชื่อที่เป็นสากลสำหรับวัฒนธรรมของชาวอเมริกันซึ่ง Concentrate producer ของทั้งโค้กได้ประสบอุปสรรคมากมายในตลาดต่างประเทศทั้งวัฒนธรรมต่างๆ การเมือง กฏระเบียบ การควบคุมราคา การโฆษณา อัตราแลกเปลี่ยน และโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่ง Coke ได้ริเริ่มแนวกลยุทธ์ต่างๆเพื่อการเข้าถึง แต่ในปลายทศวรรษ 90 นั้นตลาดต่างประเทศก็มียอดขายตกต่ำลงเช่นเดียวกับในสหรัฐฯ ซึ่งก็ทำให้กำไรลดต่ำลง แต่โค้กได้รับผลกระทบมากเพราะมีสัดส่วนตลาดต่างประเทศมากกว่า

กลยุทธ์ที่ใช้ในปัจจุบัน

1. "Coke" ได้ทำการวางน้ำอัดลมบริเวณด้านหน้าซุปเปอร์มาเก็ตเพื่อดึงดูดลูกค้าและให้เทางซุเปอร์มาเก็ตบริหารการขนส่งสินค้าไปที่หน้าร้านรวมถึงปริมาณการเก็บสินค้า

2. "Coke" ให้ส่วนลดกลับไปยังผู้ซื้อเช่นร้านเฟรนไชน์ของ Burger King เชื่อว่าได้จ่ายค่าหัวเชื้อน้ำหวานให้กับ "Coke" ในราคาโดยประมาณคือ 6.2 เหรียญฯต่อแกลลอน แต่ตอนสิ้นปีก็ได้รับส่วนลด (rebate) อย่างมากเป็นเช็คเงินสด อย่างเช่นร้าน Burger King สาขาในภาคกลางของฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯแห่งหนึ่งกล่าวว่าได้รับส่วนลดประจำปีถึง 1.45 เหรียญฯ ต่อแกลลอนหรือประมาณ 23%.

3. การลงทุนทางด้านโฆษณารวมทั้งอุปกรณ์ส่งเสริมการขายของน้ำอัดลม ณ.จุดขาย

4. "Coke" หาลูกค้ากลุ่มอื่นๆ โดยใช้ช่องทางจัดจำหน่ายใหม่ เช่น ร้าน McDonald's และ Burger King

5. "Coke" บริหารจัดการลูกค้าเครื่องกดน้ำโดยใช้ เฟรนไชน์ระดับชาติของตัวเอง ผู้ซื้อเฟรนไชน์จะทำการต่อรองและทำข้อตกลงในเรื่องสิทธิขายน้ำจากเครื่องกดซึ่งในบางกรณีกับร้านเครือข่ายขนาดใหญ่

6. "Coke" ใช้การจูงใจโดยให้ส่วนลดแก่บริษัทบรรจุขวดเพื่อให้บริษัทเหล่านี้ทำการติดตั้งตู้จ่ายน้ำอัตโนมัติ เจ้าของพื้นที่ที่ให้ทำการวางตู้จ่ายน้ำอัตโนมัติปกติก็จะได้รับค่าคอมฯ

7. "Coke" ใช้กลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์กับบริษัทขายส่งวัตถุดิบของบริษัทที่มีกับบริษัทผลิตกระป๋อง "Coke" ช่วยบริษัทบรรจุขวดในการต่อรองกับบริษัทผลิตกระป๋อง เนื่องจากต้นทุนของกระป๋องมีมูลค่าประมาณ 40% ของต้นทุนทั้งหมดของสินค้าบรรจุภัณฑ์ บริษัทบรรจุขวดและบริษัทผลิตหัวเชื้อน้ำหวานจะรักษาความสัมพันธ์กับบริษัทขายส่งวัตถุดิบนี้มากกว่าหนึ่งเจ้า

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ18 มกราคม 2554 เวลา 11:28

    กลยุทธ์เก่า อ่ะไม่มีประโชนทางการแข็งขันในปัจจุบันอ่ะ
    ขอของใหม่ๆมาดูบ้างจิ ไม่ใช้ลอกเค้ามาเขียนจากเว็บอื่นอ่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ24 ธันวาคม 2564 เวลา 14:26

    ควย

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ24 ธันวาคม 2564 เวลา 14:27

    ลอกคนอื่นเขานี้หว้าาา

    ตอบลบ